Lifestyle

เครื่องวัดขนาดอนุภาค

อนุภาค (particle) มาจากภาษาละติน หมายถึงส่วนเล็กๆ ถ้าหากในความหมายทั่วๆ ไป อนุภาคอาจหมายถึงสิ่งที่มีขนาดเล็กมากแต่ในทางวิทยาศาสตร์ อนุภาคเป็นส่วนที่เล็กมากที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นสสาร เช่น ผลึก โมเลกุล อะตอม ซึ่งแม้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็อาจมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนหรืออุปกรณ์วิเคราะห์ภาพชนิดต่าง ๆ และที่ยังเล็กลงไปกว่านั้นอีก ซึ่งอนุภาคบางชนิด ก็ยังไม่มีเครื่องมือชนิดใดจับภาพได้โดยตรง เพียงแต่พิสูจน์โดยทางอ้อมได้ว่ามีอยู่จริง 

ขนาดและการกระจายตัวของอนุภาคเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากอนุภาคมีผลต่อสมบัติทางกายภาพและเคมีของสสาร เช่น กรณีเป็นดินและหิน ขนาดและการกระจายอนุภาค (ดินและหิน) มีผลต่อความแข็งแรงและการรับน้ำหนัก (load) สำหรับสารเคมี ขนาดและการกระจายตัวมีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยเมื่อเปรียบเทียบสารชนิดเดียวกัน มวลหรือน้ำหนักเท่ากัน และมีการกระจายตัวสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน โดยสารที่มีขนาดเล็กจะมีจำนวนอนุภาคมากกว่า เป็นผลให้พื้นที่ผิวโดยรวมของสารมากกว่า จึงมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีสูงกว่าด้วย หากเป็นในกรณีสารชนิดเดียวกัน มีมวลหรือน้ำหนักเท่ากัน และมีขนาดอนุภาคใกล้เคียงกัน แต่กระจายตัวต่างกัน สารที่กระจายตัวสม่ำเสมอกว่าจะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีสูงกว่า และสม่ำเสมอกว่า ขนาดและการกระจายตัวของอนุภาคมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์มาก ดังนั้นการวัดอนุภาค จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ผลิตต้องให้ความสนใจและดูแลอย่างเข้มงวด  

โดยการวัด เพื่อวิเคราะห์และทดสอบอนุภาคมีดังนี้  

  1. การใช้ตะแกรง (Analytical Sieving Method) เป็นวิธีประมาณขนาด และการกระจายตัวของอนุภาคอย่างง่าย วิธีนี้เหมาะสำหรับวิเคราะห์อนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่า 75 ไมครอน เป็นต้นไป หากอนุภาคมีขนาดเล็กกว่า 75 ไมครอน จะไม่สามารถทดสอบและวิเคราะห์อนุภาคได้  
  1. .การใช้กล้องจุลทรรศน์แสง (Optical Microscopy) เป็นวิธีดูลักษณะและรูปร่างของอนุภาค โดยใช้สายตาวัดขนาดของอนุภาคโดยตรง เทคนิคนี้สามารถวัดขนาดอนุภาคตั้งแต่ช่วง 0.5-100 ไมครอน สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ภาพ (image analysis) เพื่อช่วยวิเคราะห์หาขนาด และการกระจายตัวของอนุภาคได้ด้วย 
  1. การใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน (Scanning Electron Microscopy, SEM) เป็นการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนดูลักษณะโครงสร้าง และองค์ประกอบของอนุภาคเหมือนกล้องจุลทรรศน์แบบแสง แต่มีความซับซ้อนกว่า 
  1. การเลี้ยวเบนของแสง (Laser Diffraction) วิธีนี้จะเป็นการวัดวิเคราะห์โดยใช้เครื่องวัดขนาดอนุภาค (particle size analyzer) เครื่องจะวัดขนาดอนุภาคโดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของแสง สามารถหาได้ทั้งขนาดและการกระจายตัวของอนุภาคได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น โดยการทำงานของเครื่องวัดขนาดอนุภาคนั้น เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ผ่านลำแสงเลเซอร์จากแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ จะเกิดการเลี้ยวเบนของแสงขึ้นในมุมต่างๆ ตามลักษณะขนาดของอนุภาคที่แสงเลเซอร์ตกกระทบ โดยมุมของการเลี้ยวเบนของแสงจะแปรผกผันกับขนาดของอนุภาค และจะถูกตรวจวัดด้วยหัวตรวจวัดของเครื่องวัดขนาดอนุภาค และถูกคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์และค่าของขนาดอนุภาคนั้นๆ รวมทั้งสามารถคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยของขนาดอนุภาคได้อีกด้วย  

เครื่่องมือวัดนั้นมีหลากหลาย เครื่องมือวัดขนาดอนุภาคก็เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่สำคัญ แต่ยังมีเครื่องวัดอีกมากมายที่จัดจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาด ราคาจับต้องได้ เช่น เครื่องวัด Flow Meter ราคาถูก เป็นต้น