Lifestyle

รูบิก ของเล่นพัฒนาสมอง

หลายๆ ท่านที่มีมักจะใช้เวลาว่างเล่นของเล่นที่สามารถฝึกพัฒนาทักษะหรือช่วยในเรื่องของสมาธิและความคิดสร้างสรรค์ทั้งหลายๆ คงจะเคยผ่านการเล่น “รูบิก (Rubik)” กันมาอย่างแน่นอนใช่มั้ยหล่ะครับ  เพราะไอ่เจ้ารูบิคนี่ นับว่าเป็นของเล่นยามว่างที่ท้าทายเอาเรื่องเลยถึงขั้นมีการจับเวลาหาสถิติระดับโลกกันอย่างมากมาย วันนี้เราจะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “รูบิก ของเล่นพัฒนาสมอง” ที่น่าสนใจกันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับ

ทำความรู้จักกับ รูบิค กันสักหน่อยครับ

ลูกบาศก์ของรูบิค (อังกฤษ: Rubik’s Cube) หรือที่เรียกกันว่า ลูกรูบิก เป็นของเล่นลับสมอง ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดยแอร์เนอ รูบิก (Ernő Rubik) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์และสถาปนิกชาวฮังการี โดยทั่วไป ตัวลูกบาศก์นั้นทำจากพลาสติก แบ่งเป็นชิ้นย่อย ๆ 26 ชิ้น ประกอบกันเป็นรูปลูกบาศก์ที่สามารถบิดหมุนไปรอบ ๆ ได้ ส่วนที่มองเห็นได้ของแต่ละด้าน จะประกอบด้วย 9 ส่วนย่อย ซึ่งมีสีทั้งหมด 6 สี ส่วนประกอบที่หมุนไปมาได้นี้ทำให้ การจัดเรียงสีของส่วนต่าง ๆ สลับกันได้หลายรูปแบบ จุดประสงค์ของเกมคือ การจัดเรียงให้แถบสีทั้ง 9 ที่อยู่ในด้านเดียวกันของลูกบาศก์ (ซึ่งมีทั้งหมด 6 ด้าน) มีสีเดียวกัน

ลูกบาศก์ของรูบิกได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 และได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสมัยนิยมของยุคนั้น ลูกบาศก์ของรูบิกนั้นถือได้ว่าเป็นเป็นของเล่นที่ขายได้มากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนยอดขายรวมทั้งของแท้และของเลียนแบบมากกว่า 300,000,000 ชิ้นทั่วโลก

ต้นกำเนิดของ รูบิก

ลูกบาศก์ของรูบิกได้รับการคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดยแอร์เนอ รูบิก สถาปนิกชาวฮังการีผู้สนใจในเรขาคณิตและรูปทรงสามมิติ แอร์เนอได้จดสิทธิบัตร HU170062 สิ่งประดิษฐ์ในชื่อ “ลูกบาศก์มหัศจรรย์” (Magic Cube) ในปี ค.ศ. 1975 ที่ประเทศฮังการี แต่ไม่ได้จดสิทธิบัตรนานาชาติ มีการผลิตชุดแรกเพื่อสำรวจตลาดในปลายปี ค.ศ. 1977 โดยจำหน่ายในร้านของเล่นในกรุงบูดาเปสต์

วิธีการแล่น รูบิกแบบ 3×3”

วิธีเล่นรูบิค 3×3 ให้เร็วนั้นแบ่งเป็น 3 แถว

แถวที่ 1 มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอน “รูบิคขาวล้อมเหลือง” เริ่มแรกให้ยึดด้านที่มีสีเหลืองตรงกลางเป็นด้านบน จากนั้นสามารถทำตามวิธีต่างๆ ได้ดังนี้

กรณีที่ 1 สีขาวอยู่แถวด้านซ้ายหรือขวา วิธีคือ หมุนแถวขวาหรือแถวซ้ายที่มีสีขาวขึ้นหรือลง เพื่อให้พอดีกับสีเหลืองตรงกลาง

กรณีที่ 2 สีขาวอยู่แถวด้านบนหรือล่าง วิธีคือ  หมุนด้านหน้าไปทางขวา จากนั้นจะได้รูบิคในลักษณะกรณีที่ 1 ให้ทำวิธีเดิมได้เลย

กรณีที่ 3 สีขาวอยู่ด้านล่าง (ตรงข้ามกับสีเหลืองด้านบนที่ยึดเป็นหลัก) วิธีคือ พลิกลูกไปทางด้านขวา 1 ครั้ง จากนั้นหมุนสีขาวแดงด้านขวาขึ้น 2 ครั้ง ก็จะได้รูบิคขาวล้อมเหลืองแล้ว

ขั้นตอน “ขาวล้อมขาว” ทำต่อจากขั้นตอนก่อนหน้านี้ โดยให้ยึดด้านขาวล้อมเหลืองอยู่ด้านบน มีวิธีดังนี้

– หมุนชิ้นรูบิคที่อยู่ตรงหน้าให้ตรงสีเซ็นเตอร์ด้านหน้าที่เราถืออยู่ โดยบิดแถวด้านล่างไปจนกว่าจะเจอสีเดียวกัน
– บิดด้านหน้าไปทางขวา 2 ครั้ง
– ทำซ้ำก่อนหน้านี้อีก 3 ครั้งให้ครบตามขอบสีขาวที่ล้อมเหลือง ก็จะได้ขอบขาวล้อมเซ็นเตอร์ขาว หรือที่เรียกว่า “ขาวล้อมขาว”

ขั้นตอน “เก็บมุม ทำแถวที่ 1” ขั้นตอนนี้ให้ยึดเซ็นเตอร์สีขาวอยู่ด้านบนและเซ็นเตอร์สีเหลืองอยู่ด้านล่าง จากนั้นทำตามวิธีดังต่อไปนี้

กรณีที่ 1 มุมสีขาวอยู่ด้านบน แต่คนละด้านกับสีเหลือง วิธีคือ

– หมุนแถวด้านบนให้สีข้างๆ สีขาวตรงกับเซ็นเตอร์ของสีนั้นๆ
– จากนั้นหันด้านดังกล่าวเข้าหาตนเอง
– หมุนแถวซ้ายขึ้น แถวบนไปทางขวา และหมุนแถวซ้ายลง

กรณีที่ 2 มุมสีขาวอยู่ด้านบน ด้านเดียวกับสีเหลือง วิธีคือ

– หมุนแถวด้านบนให้สีขาวและสีข้างๆ ทั้ง 2 สี ตรงกับเซ็นเตอร์ของสีนั้นๆ จะได้สีขาวอยู่ด้านบน มุมฝั่งขวา
– จากนั้นให้หมุนแถวขวาขึ้น แถวบนไปทางซ้าย หมุนแถวขวาลง จากนั้นหมุนแถวบนไปทางขวา
– ทำซ้ำวิธีก่อนหน้า อีก 1 ครั้ง จากนั้นให้หมุนแถวขวาขึ้น แถวบนไปทางซ้าย หมุนแถวขวาลง

กรณีที่ 3 มุมสีขาวอยู่ล่าง วิธีคือ

– พลิกลูกให้สีขาวอยู่มุมล่าง ด้านขวามือ
– จากนั้นให้หมุนแถวขวาขึ้น แถวบนไปทางซ้าย หมุนแถวขวาลง
– จากนั้นหมุนแถวบนไปทางขวา จากนั้นจะได้แถวที่ 1 เต็มและด้านขาวเต็มหน้า

แถวที่ 2 มี 1 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นตอน “เก็บขอบแถวที่ 2” เริ่มแรกให้ยึดด้านที่มีเซ็นเตอร์สีเหลืองเป็นด้านบนเหมือนเดิม จากนั้นทำตามวิธีดังต่อไปนี้
– เลือกชิ้นขอบที่ไม่มีสีเหลือง จากนั้นบิดให้สีชิ้นขอบตรงกับสีเซ็นเตอร์
– จากนั้นหมุนแถวบนไปทางขวา หมุนแถวขวาขึ้นบน หมุนแถวบนไปทางขวา หมุนแถวขวาลงล่าง

– จากนั้นให้ทำสลับฝั่งคือ หมุนแถวบนไปทางซ้าย หมุนแถวซ้ายขึ้นบน
– หมุนแถวบนไปทางซ้าย หมุนแถวซ้ายลงล่าง ก็จะได้แถวที่ 2 เสร็จสมบูรณ์

แถวที่ 3 มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นตอน “ทำเครื่องหมายบวกสีเหลือง” ขั้นตอนนี้ให้ยึดด้านที่มีเซ็นเตอร์สีเหลืองเป็นด้านบนเหมือนเดิม จากนั้นทำตามวิธีดังต่อไปนี้

– หมุนแถวขวาลงล่าง หมุนแถวบนไปทางขวา หันรูบิคไปทางขวา 1 ครั้ง

– จากนั้นหมุนแถวล่างขึ้นบน หมุนแถวบนไปทางซ้าย หมุนแถวซ้ายลงล่าง จากนั้นหมุนด้านหน้าไปทางขวา 1 ครั้ง

หมายเหตุ

– กรณีมีสีเหลืองตรงกลางอันเดียวให้ทำวิธีทำข้างต้นซ้ำ 3 รอบ
– กรณีมีขอบสีเหลืองเป็นรูปตัวไอ (I) ให้ทำวิธีทำข้างต้นซ้ำ 2 รอบ
– กรณีมีขอบสีเหลืองเป็นรูปตัวแอล (L) ให้ทำวิธีทำข้างต้นซ้ำ 2 รอบ

2. ขั้นตอน “ทำด้านเหลืองเต็ม”

อย่างไรก็ตาม จะต้องยึดสีเหลืองไว้ด้านบนเสมอ จากนั้นทำตามวิธีดังต่อไปนี้
– หมุนแถวขวาขึ้น หมุนแถวบนไปทางซ้าย หมุนแถวขวาลง หมุนแถวบนไปทางซ้าย
– จากนั้นหมุนแถวขวาขึ้น หมุนแถวบนไปทางซ้าย 2 ครั้ง และหมุนแถวซ้ายลง

3. ขั้นตอน “มุมสีเหลือง”

ขั้นตอนนี้ยังคงยึดสีเหลืองขึ้นเป็นด้านบนเช่นเดิม จากนั้นทำตามวิธีดังนี้
– สังเกตมุมคู่ จากนั้นพลิกให้มุมคู่ไปอยู่ทางด้านขวามือ จากนั้นพลิกด้านสีขาวหันเข้าตัวเอง โดยที่มุมคู่ยังอยู่ขวามือ
– หมุนแถวขวาลง 2 ครั้ง หมุนแถวล่างไปทางซ้าย 2 ครั้ง หมุนแถวขวาขึ้นบน หมุนแถวบนไปทางซ้าย
– จากนั้นหมุนแถวขวาลง หมุนแถวล่างไปทางซ้าย 2 ครั้ง หมุนแถวขวาขึ้นบน หมุนแถวบนไปทางขวา และหมุนแถวขวาขึ้นบน

►ขั้นตอน “เก็บขอบที่เหลือ”

ขั้นตอนสุดท้าย เริ่มจากยึดด้านสีเหลืองไว้ด้านบนเสมอ จากนั้นทำตามวิธีดังต่อไปนี้

– หมุนด้านหลัง 2 ครั้ง หมุนแถวบนไปทางซ้าย หมุนแถวขวาขึ้นบน
– จากนั้นหมุนแถวซ้ายขึ้นบน หมุนด้านหลัง 2 ครั้ง หมุนแถวขวาลงล่าง
– หมุนแถวขวาลงล่าง หมุนแถวบนไปทางซ้าย จากนั้นหมุนด้านหลัง 2 ครั้ง ก็จะได้รูบิคสีเดียวกันครบทุกหน้าแล้ว

ข้อดีของการเล่น รูบิก

รูบิก นั้นมีส่วนช่วยในเรื่องการเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านสมองได้เป็นอย่างดี การได้ฝึกฝนหรือเล่นอย่างต่อเนื่องจะช่วยในเรื่องของความจำ การแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์ และยังฝึกความอดทนได้ เพราะทุกครั้งที่เล่นจะต้องคอยหาวิธีแก้ไขเพื่อให้ผ่านพ้นอุปสรรคและรับมือกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรสำหรับมือใหม่ครับ

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “รูบิก ของเล่นพัฒนาสมอง” ที่เราได้รวบวรมมากฝากทุกๆ ท่านให้ได้เข้าใจและลองไปหาเล่นกันดูครับ